บทความ&เกร็ดความรู้

ไม้ระแนงเป็นอีกหนึ่งวัสดุก่อสร้างที่ทุกบ้านมักตกแต่งไว้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของบ้าน สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมตามการใช้งาน โดยเฉพาะในทางสถาปัตยกรรมที่ได้นำเอาประโยชน์จากเส้นลายของไม้ระแนงมาทำให้บ้านดูทันสมัยและแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้ รวมทั้งการเปลี่ยนจากวัสดุไม้ธรรมชาติมาใช้ระแนงไม้เทียมเพื่อลดข้อกังวลใจด้านการใช้งาน อย่างไรก็ตามไม้ระแนงอเนกประสงค์กว่าที่คุณคิด MAZ จึงจะพาไปชมระแนงไม้เทียม WPC วัสดุตกแต่งบ้านและสวน สวย แข็งแรง ทนทานยิ่งกว่าไม้จริง

วัสดุที่ถูกคิดค้นเพื่อใช้แทนพื้นไม้จริง ส่วนใหญ่มักเป็นวัสดุที่เหมาะใช้กับพื้นภายในบ้าน อาทิ กระเบื้องยางลายไม้ พื้นลามิเนตลายไม้ ไม้เอ็นจิเนียร์ กลับกันวัสดุที่มีคุณสมบัติมากพอจนสามารถใช้กับพื้นภายนอกได้มีเพียงไม่กี่อย่าง ซึ่งหากใครกำลังมองหาวัสดุตกแต่งพื้นภายนอก MAZ ขอแนะนำพื้นไม้เทียม WPC ไม้สังเคราะห์สำหรับตกแต่งพื้นนอกบ้าน

ไม่มีวัสดุก่อสร้างใดในโลกที่ดีที่สุดหรือแย่ที่สุด เพราะวัสดุแต่ละชิ้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานต่างจุดประสงค์ ต่างวาระ ดังนั้นก่อนนำวัสดุใดไปตกแต่งบ้านก็ต้องรู้จักข้อดีและข้อเสียเพื่อให้ได้วัสดุที่ตรงกับจุดประสงค์การใช้งานมากที่สุด โดยในครั้งที่แล้ว MAZ ได้พาไปรู้จักวัสดุอย่างไม้เทียม WPC ว่าคืออะไร? และคงมีหลายคนที่กำลังจดวัสดุชนิดนี้ไว้ในรายการไอเทมตกแต่งบ้านที่ต้องมีให้ได้ แต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าจะซื้อของสักชิ้นก็ต้องรู้ข้อดีและข้อเสียก่อน MAZ จึงพาไปดูข้อดีและข้อเสียของไม้เทียม WPC ที่หากคุณรู้อย่างนี้ใช้ไปตั้งนานแล้ว

ไม้เทียม WPC มีชื่อเรียกหลายชื่อทั้งไม้สังเคราะห์ WPC, ไม้พลาสติก และ WPC หรือชื่อเต็มๆ คือ Wood Plastic Composite เป็นวัสดุก่อสร้างสำหรับตกแต่งที่อยู่อาศัย มีผงไม้และพลาสติกโพลีเมอร์ประเภทเทอร์โมพลาสติก (PVC, PE) เป็นส่วนประกอบ

ไม้เทียม หรือเรียกอีกอย่างว่าไม้สังเคราะห์ คือ วัสดุตกแต่งบ้านที่เลียนแบบไม้จริงตั้งแต่สี ลวดลาย ผิวสัมผัส เพื่อให้ได้ไม้เทียมที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงไม้จริงมากที่สุด แล้วแน่นอนว่าได้ชื่อว่าเป็นวัสดุไม้สังเคราะห์ การใช้งานก็จะมีระยะเวลาที่ยาวนาน ทนทาน คงทนต่อสภาพอากาศและแมลงมากกว่า โดยจะมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 2 ชนิดที่นำมาสังเคราะห์

การทำความสะอาดกระเบื้องยาง 1. หมั่นทำความสะอาดพื้นกระเบื้องยางด้วยการปัดกวาด ดูดฝุ่น เช็ดถูเป็นประจำ 2. ให้ใช้น้ำสะอาด น้ำสะอาดผสมสบู่ หรือน้ำยาอ่อนๆ ในการทำความสะอาดพื้นกระเบื้องยาง 3. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตร ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี เพราะสารเคมีบางชนิดมีฤทธิ์กัดกร่อนพื้นผิวกระเบื้องยางและทำให้กระเบื้องยางเป็นด่างได้

ขั้นตอนการติดตั้งกระเบื้องยางแบบคลิกล็อค 1. ปูแผ่นโฟมรองกระเบื้องยาง ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยซับเสียงเวลาเดินและช่วยให้สัมผัสที่เท้าเวลาเดินบนกระเบื้องยางนุ่มสบายมากขึ้น เพราะกระเบื้องยางแบบคลิกล็อคจะมีความแข็งกว่ากระเบื้องยางแบบทากาวและกาวในตัวจึงจำเป็นต้องมีการปูโฟม

ขั้นตอนการติดตั้งกระเบื้องยางแบบกาวในตัว 1. เริ่มปูกระเบื้องยางจากมุมห้องโดยปูชิดผนังฝั่งใดฝั่งหนึ่งของห้อง ให้ลอกกระดาษปิดกาวออกแล้วจึงแปะกระเบื้องยางลงพื้น 2. ปูกระเบื้องยางทีละแถวตามแนวยาวของกระเบื้องยางจนครบแถวแรก และหากแถวแรกปูไม่พอดีกันให้เอากระเบื้องยางอีกแผ่นไปทาบให้พอดีช่องนั้น แล้วใช้ดินสอมาร์คจุดไว้ จากนั้นใช้ไม้ฉากหรือไม้บรรทัดทาบทับสัญลักษณ์ที่ขีดไว้แล้วใช้คัตเตอร์กรีดกระเบื้องยางตามรอยที่ทำไว้ หักตามรอย ก็จะได้กระเบื้องยางแผ่นที่พอดีกัน สามารถนำไปติดตั้งได้เลย ส่วนเศษกระเบื้องยางที่เหลือก็สามารถนำไปปูในแถวถัดไปได้

ขั้นตอนการติดตั้งกระเบื้องยาง “แบบทากาว” 1. ปูกระเบื้องจากมุมห้องโดยเริ่มปูชิดผนังฝั่งใดฝั่งหนึ่งของห้อง 2. คนกาวในถังให้เข้ากัน เทกาวสำหรับติดตั้งกระเบื้องยางลงพื้นประมาณ 1-2 แถว หรือครั้งละประมาณ 1-2 กิโลกรัม โดยใช้เกรียงปาดกาวให้เรียบเสมอและอยู่ในระดับเดียวกัน จากนั้นพักกาวไว้ประมาณ 20-30 นาที ให้กาวหมาดๆ ค่อยเริ่มติดตั้งกระเบื้องยาง

ค่า R (Slip Resistance Rating) คือ ค่ากันลื่นที่ได้มาจากการทดสอบ Ramp Test ซึ่งเป็นการทดสอบหาความหนืดของกระเบื้องบนความชัน โดยมาตรฐานวัดความกันลื่นแบ่งตามช่วงขององศาที่ต่างกันและค่ากันลื่นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ ยิ่งตัวเลขที่ทดสอบออกมาสูง ค่ากันลื่นก็จะยิ่งสูงตาม ทั้งนี้ค่า R แบ่งออกเป็น 5 ระดับ เริ่มตั้งแต่ R9 ถึง R13

วิธีและขั้นตอนการคำนวณการปูกระเบื้องยาง 1. วัดแปลนหรือพื้นที่ที่ต้องการปูกระเบื้องยางว่ามีความกว้างและความยาวเท่าไหร่ 2. คำนวณพื้นที่ที่ต้องการปูกระเบื้องยาง จากสูตรการหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยใช้หน่วยเป็นเมตร (สูตรการหาพื้นที่ขึ้นอยู่กับแปลนห้องว่าเป็นรูปร่างแบบใด หากเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็ใช้สูตรการหาพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส ถ้าเป็นวงกลมก็ใช้สูตรการหาพื้นที่วงกลม)

กระเบื้องยางลายไม้ เป็นลวดลายหนึ่งของกระเบื้องยางที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเพื่อทดแทนวัสดุพื้นไม้จริง ได้รับการยอมรับว่าเป็นกระเบื้องยางลายยอดนิยมที่ถูกเลือกมาใช้ในการตกแต่งบ้านมากที่สุด ด้วยลวดลายไม้ที่มีความเป็นธรรมชาติที่ไม่ว่าจะตกแต่งกับสไตล์ไหนก็เอาอยู่ โดยในส่วนของโครงสร้างชั้นพิมพ์ลายจะมีการพิมพ์ลายไม้อย่างคมชัด แนบเนียน สมจริง และยิ่งพัฒนาให้สมจริงมากขึ้นไปอีกด้วยการเพิ่มลูกเล่นให้กับพื้นกระเบื้องยางให้มีผิวสัมผัสเสมือนไม้ที่มาจากธรรมชาติ อย่างการเพิ่ม Texture เสี้ยนไม้ ร่องนูนเว้า รอยขรุขระของพื้นไม้ ทำให้เมื่อเท้าสัมผัสกับพื้นกระเบื้องยางลายไม้จึงแทบไม่แตกต่างจากการเดินบนพื้นไม้จริงเลย ประจวบกับปัจจุบันที่มีลวดลาย สี วัสดุให้เลือกกว่าสมัยก่อนมาก จึงไม่ต้องแปลกใจหากกระเบื้องยางลายไม้จะเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของใครหลายคน

การตกแต่งบ้านแบบ Modern Zen สามารถเลือกได้ตามความชอบของเจ้าของบ้านได้เลยว่าจะหยิบจับวัสดุแบบใดมาใช้สอย อย่างที่เราได้กล่าวไปว่าการสร้างบ้านสไตล์ Modern Zen จะเน้นความทันสมัย เป็นธรรมชาติบวกกับความเรียบง่ายและสงบ เย็น การใช้ไม้เข้ามาเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการตกแต่งบ้านจึงขาดไปไม่ได้เลย แต่การจะใช้พื้นไม้จริงโดยตรงเลยนั้นอาจไม่เหมาะกับบ้านบางประเภทหรือมักมีข้อจำกัดมากมายตามมา เช่นนั้นแล้ว “กระเบื้องยางลายไม้” จึงเป็นไอเทมตกแต่งบ้านอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะกับการนำมาใช้ปูพื้นบ้าน เพิ่มความเป็นธรรมชาติภายในบ้านโดยไม่ต้องพึ่งพื้นไม้จริง

Modern Zen เป็นการผสมผสานแนวคิดการตกแต่งบ้านที่มีความทันสมัยเข้ากับปรัชญาเซน ที่ว่าด้วยเรื่องของความสงบนิ่ง เน้นความเรียบง่ายแบบมินิมอล และการใช้ธรรมชาติเข้ามีส่วนสำคัญไร้ซึ่งการปรุงแต่งใดๆ อาทิเช่น การจัดพื้นที่ให้มีแสงแดดสาดส่องทะลุเข้ามาภายในบ้าน ความไม่ซับซ้อนจากการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป แล้วเติมเต็มความเป็นธรรมชาติด้วยวัสดุจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ใบหญ้า ดิน ก้อนหิน เป็นต้น อันเป็นการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้หลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติอย่างทันสมัยได้อย่างลงตัว การตกแต่งบ้านในลักษณะนี้จึงให้คุณประโยชน์ในด้านการช่วยบำบัดและฟื้นฟูจิตใจเป็นอย่างดี

“ระบบคลิกล็อค หรือ ระบบรางลิ้น” จุดเด่นของกระเบื้องยางประเภทนี้ ตัวกระเบื้องยางจะมีความหนามากกว่าระบบทากาวและกาวในตัว แต่ในแง่ของความยืดหยุ่นจะน้อยกว่ามากหรือแทบไม่มีเลย เพราะกระเบื้องยางแบบคลิกล็อคถูกผลิตมาเพื่อให้สามารถรองรับระบบรางลิ้นหรือที่เรียกกันว่าคลิกล็อคได้ จึงต้องมีความหนาและแข็งเป็นพิเศษ ซึ่งการปูพื้นกระเบื้องยางแบบคลิกล็อคไม่ต้องใช้กาวในการติดตั้ง สามารถใช้ตัวรางลิ้นที่ติดมากับกระเบื้องยางเชื่อมกระเบื้องยางแต่ละแผ่นเข้าด้วยกันได้เลย

“กระเบื้องยางแบบกาวในตัว” เป็นกระเบื้องยางที่ติดตั้งได้ง่ายที่สุด ที่มีกาวมาพร้อมกับตัวกระเบื้องยาง ในการติดตั้งทำได้ง่ายมาก เพียงแค่ลอกแผ่นกระดาษที่ปิดกาวไว้ก็สามารถติดตั้งลงพื้นได้เลยทันที ซึ่งกาวที่ติดมากับกระเบื้องยางเป็นกาวแบบแผ่นที่มีความเหนียว ไร้กังวลปัญหาเรื่องการหลุดลอกของกระเบื้องยางในภายหลัง

“ระบบการติดตั้งกระเบื้องยางแบบทากาว” จะใช้กาวสำหรับกระเบื้องยางในการติดตั้ง โดยการทากาวลงพื้นก่อนจึงปูกระเบื้องยางทับลงไป ซึ่งกาวกระเบื้องยางจะทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวตัวพื้นเดิมและตัวกระเบื้องยางให้ติดกันแน่น ทั้งนี้ต้องทากาวให้สม่ำเสมอกันเพื่อให้พื้นที่ติดตั้งมีความแข็งแรง ทนทาน และใช้งานได้นาน

ความแตกต่างระหว่างกระเบื้องยาง SPC และ LVT 1. ชื่อและโครงสร้างต่างกัน ชื่อเรียกของกระเบื้องยางแบบ SPC และ LVT ที่แตกต่างกันมาจากโครงสร้างและส่วนผสมของกระเบื้องยางที่ต่างกัน ดังนี้ - SPC (Stone Plastic Composite) จะมีส่วนผสมของผงแร่ใยหิน และ PVC - LVT (Luxury Vinyl Tiles) จะมีส่วนผสมของไวนิล 100% (Pure PVC)

ข้อดีและข้อเสียของกระเบื้องยาง ข้อดีของกระเบื้องยาง 1. มีอายุการใช้งานยาวนาน เนื่องด้วยพลาสติกเป็นวัสดุที่ใช้ได้นานเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว บวกเข้ากับนวัตกรรมสมัยใหม่ที่มีการสังเคราะห์วัสดุอย่างพลาสติกให้มีความคงทนมากกว่าเดิม ส่งผลให้อายุการใช้งานยิ่งนานขึ้นไปอีก ซึ่งพื้นกระเบื้องยางหากมีการดูแลรักษาและทำความสะอาดอย่างดีอาจใช้งานได้นานถึง 10-15 ปี

คุณสมบัติของกระเบื้องยาง ทนทานต่อรอยขีดข่วนได้ดี พื้นไม้หรือพื้นกระเบื้องประเภทอื่นที่ไม่ใช่กระเบื้องยาง หากใช้ไปนานๆ หรือถูกเสียดสีอย่างแรง หรือจากการลากของหนักมักเกิดรอยขีดข่วนอย่างเห็นได้ชัด จึงมองเห็นร่องรอยขีดข่วน และมีพื้นสัมผัสที่ไม่เรียบเนียนที่อาจก่อให้เกิดความหงุดหงิดใจให้คนรักบ้านได้ ซึ่งกระเบื้องยางเป็นนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นมาให้มีการเคลือบด้วยโครงสร้างชั้นต่างๆ หลายชั้นจึงทนทานต่อรอยขีดข่วนได้เป็นอย่างดี

โครงสร้างหรือองค์ประกอบพื้นฐานของกระเบื้องยางมีโครงสร้างดังต่อไปนี้ PU Coating ชั้นป้องกันน้ำและยูวี เป็นส่วนที่อยู่ข้างบนสุดของกระเบื้องยาง มีการเคลือบโพลียูรีเทนโฟม มีหน้าที่ช่วยป้องกันน้ำและแสงยูวี ไม่ให้สีซีดเร็วจนเกินไปและยังคงความสดใหม่ของกระเบื้องยาง Wear Layer ชั้นกันสึก ชั้นนี้จะเป็นชั้นของโพลีเมอร์ ซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันการขีดข่วนและการฉีกขาดของพื้นผิวกระเบื้องยาง

กระเบื้องยาง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ กระเบื้องยางธรรมชาติที่ทำมาจากยางพารา และกระเบื้องยางสังเคราะห์ หรือเรียกอีกอย่างว่ากระเบื้องยางที่ผลิตมาจากโพลีเมอร์ อย่างโพลียูรีเทน (Polyurethane) และพีวีซี (PVC) ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้